ที่สุดของเทพแห่งศิลปะต่าง ๆ คือพระพิฆเนศและที่สุดของพระพิฆเนศต้อง พระพิฆเนศ กรมศิลปากร

พระพิฆเนศ กรมศิลปากร

พระพิฆเนศนั้นเป็นเทพอีกองค์หนึ่งที่สำคัญของเมืองไทยเรา เพราะเป็นเทพที่ได้รับความสนใจและเป็นที่รู้จักรวมทั้งเป็นที่ยึดเหนี่ยวศรัทธาทางจิตใจของคนในสังคมไทยมาอย่างยาวนานและได้รับความนิยม ปัจจุบันบ้านเรามีการบูชาพระพิฆเนศกันในหลากหลายรูปแบบทั้งรูปถ่ายและรูปปั้นต่าง ๆ หรืออื่น ๆ แต่ที่ได้รับความนิยมและมีคุณค่าที่จิตใจที่สุดต้องยกให้ พระพิฆเนศ กรมศิลปากร โดย พระพิฆเนศ กรมศิลปากร เป็นรูปปั้นแทนองค์ท่านที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด เนื่องจากความวิจิตรบรรจงในการประดิษฐ์การสร้างนั้นเรียกได้ว่างดงามกว่าที่ใดพร้อมทั้งเรื่องของมวลสารในการสร้างเกจิผู้ปลุกเสกที่ดีที่สุดในการสร้างพระพิฆเนศของไทยเลยก็ว่าได้

พระพิฆเนศ กรมศิลปากร ความพิเศษและความขลัง พร้อมทั้งความพร้อมในการบูชา พระพิฆเนศ บทสวด ต่าง ๆ

พระพิฆเนศ กรมศิลปากร นั้นมีการจัดสร้างกันอยู่เรื่อย ๆ เนื่องในโอกาสต่าง ๆ แล้วแต่โอกาสไป แต่กว่าจะจัดสร้างได้นั้นเรียกได้ว่ามีที่มาที่ไปมีการคิดออกแบบกันก่อน ไม่ใช่อยากทำก็ทำเลย บางครั้งการจัดสร้างจะมีสร้างโดยมีไอเดียหรือแบบปั้นสวย ๆ ดี ๆ หรือมีคุณค่าในโอกาสต่าง ๆ ก่อนจึงถือเอาวันและเวลาต่าง ๆ มาประกอบเพื่อเป็นการจัดทำที่สมบูรณ์แบบ โดยการจัดทำแต่ละครั้งนั้นทั้งเรื่องของการประดิษฐ์ที่พิถีพิถันที่สุดเท่าที่มีการสร้างรูปปั้นหรือของศักดิ์สิทธิ์เกี่ยวกับพระพิฆเนศในประเทศไทยของเรา เพราะคิดออกแบบและสร้างโดยอาจารย์และผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับศิลปะการปั้นที่ดีที่สุดของประเทศเลย

“ตัวอย่างการสร้าง” เรามาดูคุณค่าของ พระพิฆเนศ กรมศิลปากร กันบ้างอย่างการจัดทำรูปปั้นให้ได้บูชากันของพระพิฆเนศรุ่นมงคล 108 ปีกรมศิลป์ ที่จัดสร้างเมื่อปี พ.ศ.2562 สถานที่และคณะผู้รับผิดชอบในการจัดทำคือ สำนักงานช่างสิบหมู่ ศาลายา จังหวัดนครปฐม โดยได้ พระครูสิทธิไชยบดี, พระครูพราหมณ์, พระครูจากกองพระราชพิธีในสำนักพระราชวัง เป็นผู้รับหน้าที่ในการเป็นผู้นำบวงสรวง ฝ่ายพระสงฆ์ได้ พระญาณวิกรมหรืออุเทน สิริสาโร ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดท่าไม้ จังหวัดสมุทรสาคร เป็นประธานสงฆ์พร้อมพระสงฆ์จำนวน 9 รูปในการประกอบพิธี 

การประกอบพิธีนั้นเป็นไปในรูปแบบทั้งของพราหมณ์และพุทธ และได้ผอ.สำนักศิลกว่า 12 สำนักจากทั่วประเทศนำวัตถุมงคลจาก 108 วัดมาประกอบมวลสาร อาทิ แผ่นนาก แผ่นเงิน แผ่นทอง อย่างละ 108 แผ่น มาประกอบมวลสาร

พระพิฆเนศ บทสวด 2 บทที่จำเป็น

โอม พระพิฆเณศวร

สิทธิประสิทธิเม มหาลาโภ

ทุติยัมปิ พระพิฆเณศวร

สิทธิประสิทธิเม มหาลาโภ

ตะติยัมปิ พระพิฆเณศวร

สิทธิประสิทธิเม มหาลาโภ

(สวดเพื่อเป็นศิริมงคลทุกวัน)

และ

โอม ศรีคะเนศายะนะมะ

ชะยะคะเณศะ ชะยะคะเณศะ ชายะคะเณศะ

เทวา มาตา ชากี ปะระ วะตี ปิตามะหา เทวา ละฑุวัน

กา โกคะ ละเค สันตะ กะเร เสวา เอก ทันตะ

ทะยาวันดะ จาระ ภุชา ธารี มาเถ สินทูระ เสเห

มูเส กี อะสะวารี อันธะนะ โก อางขะ เทตะ

โก กายา พามณะนะ โก กุตรร เทตะ

โกทินะ นิระทะนะ มายาฯ

(คาถาขอพร หรือให้แคล้วคลาด)